เมื่อไรไทยไปบอลโลก

เมื่อไรไทยไปบอลโลก ความคาใจของแฟนบอลไทย ที่รอคำตอบมาเนิ่นนาน มาร่วมหาคำตอบด้วยกัน

เมื่อไรไทยไปบอลโลก

เมื่อไรไทยไปบอลโลก คำถามที่วันนี้เราจะมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่ออนาคตบอลไทย

เมื่อไรไทยไปบอลโลก คำถามนี้มีมานานจนเป็นวลีติดปาก ที่หลายคนเคยเอาไว้ถามแซวกัน มาจนเรียกได้ว่า ตลอดมา หมายความว่ามันนานมาก ที่มีแต่คนสงสัย แต่เราเคยเอาข้อมูลมาคิด วิเคราะห์ กันไหมว่า อะไร คือ ปัจจัย บ้างที่จะทำให้ ทีมชาติไทยด้ไปบอลโลกจริงๆ ถ้าเรียกได้ว่า เป็นการสมัครงาน แน่นอน เราต้องระบุ คุณสมบัติต่างๆ ในการรับสมัคร หรือ เข้าสมัคร ก็ไม่ต่างกัน

คุณสมบัติของทีมที่จะได้ไปบอลโลก ย่อมต้องมี อะไร คือ นิยามคำว่า แข็งแกร่งมากพอ ดีมากพอ ที่จะได้เข้าไปยืนตรงนั้น เฉกเช่นที่ ทีมชาติญี่ปุ่น หรือ ทีมชาติเกาหลีใต้ ทำได้จวบจนทุกวันนี้ เราจะลองมาวิเคราะห์ประเด็นร่วมกันแบบสบายๆในวันนี้กัน

เมื่อไรไทยไปบอลโลก

เมื่อไรไทยไปบอลโลก

เมื่อมีฟุตบอลลีคที่แข็งแกร่งมากพอ

คำว่าแข็งแกร่ง จะนิยามได้จากอะไรบ้าง ก็ยกตัวอย่าง เช่น ณ ตอนนี้ทำไม ทีมชาติไทย ดูมีตัวเลือกให้ใช้มากกว่าแต่ก่อน นี่ก็เป็นกระจกสะท้อนคำว่า ลีคที่แข็งแกร่งสร้างทีมชาติที่แข็งแกร่งเช่นกัน เราลองมาคิดเป็นขั้นตอนตามประสาชาวบ้านด้วยภาษาง่ายๆกันดูครับ สโมสรแข่งขันกันเป็นแชมป์ ก็ต้องหานักเตะที่ดีพอจะทำให้ได้แชมป์ ก็เกิดการลงทุน เกิดการวางแผน เมื่ออันดับดี สปอนเซอร์ รายรับ ผลงาน ก็จะทำให้สโมสรอยู่ได้ มีเงินมาจ้างนักเตะที่ดีขึ้น ทำให้สโมสรแข็งแกร่งขึ้น และ ส่วนหนึ่งของการลดต้นทุนก็คือ

การสร้าง Academy  ของตัวเอง เพราะการปั้นดาวดวงใหม่ย่อม สร้างรายจ่ายน้อยกว่า การซื้อนักเตะที่ดัง หรือ สำเร็จรูปพร้อมใช้งานมา แต่ฟุตบอลบางครั้งไม่ใช่ มาม่าใส่น้ำแล้วทานได้ มันไม่มีคำว่า สำเร็จรูป และ ผลที่ตามมานะเหรอ ยิ่งต่างคนต่างปั้น โอกาส ดาวดังดวงใหม่ที่จะเกิด ก็มากขึ้นยังไงล่ะพอมารวมกันกับทั้งนักเตะดาวดังที่เก่า และ ใหม่ กับบางคนที่

ออกไปสู้ชีวิตที่ต่างประเทศผลพวงทีมชาติก็ได้ไปเต็มๆ เช่น ชนาธิป สรงกระสินธ์,ธีรศิลป์ แดงดา,ธีราทร บุญมาทัน ในกลุ่มดาวค้างฟ้าที่ไปโลดแล่น เวที่ เอเชีย เจลีค และ กลับมาช่วยให้ทีมชาติไทยแกร่งขึ้นทั้ง ทางตรง หรือ ทางอ้อม ก็มาจาก ผลผลิต ยุคเปลี่ยนถ่าย ของสโมสรที่เข้าสู่ความเป็นมืออาชีพ มากขึ้น 

 

การต่อยอดให้นักเตะไม่หยุดอยู่แค่ความสำเร็จในประเทศ

ไม่ว่าจะดาวค้างฟ้า ดาวดวงใหม่ ที่ทั้งกำลังจะผลัดใบ หรือ กำลังก้าวขึ้นมาก็ตาม ปัจจุบันเริ่มมีการผลักดัน ให้นักเตะ ก้าวข้ามความสำเร็จ หรือ การอยู่เพื่อได้ความสะดวกสบายทั้งเรื่องค่าตอบแทน การยอมรับแค่เพียงในประเทศไทย

ให้ออกไปหาความท้าทายใหม่ๆ กับ ลีคที่ยากกว่า มีมาตรฐานที่สูงกว่า อย่างเช่น J league,K leagueซึ่งโมเดลนี้ ทาง ญี่ปุ่น หรือ เกาหลี เขามีแผนการ และ ผลักดันรวมถึงทำต่อเนื่องมานานแล้ว ผลลัพธ์ คือ พวกเขาก้ได้รับการยอมรับในเวทีนานาชาติในที่สุด

ได้ไปบอลโลกเป็นขาประจำมีผลผลิตเป็นนักเตะ ส่งออกรวมถึงคุณภาพนักเตะที่เป็นมาตรฐานระดับโลกมากขึ้นจะเห็นได้จากการที่ มีนักเตะของพวกเขา ไปตามสโมสร หรือ ลีค ใหญ่ๆ ในยุโรปมากขึ้น โดยใช้คำว่าการตลาดเป็น ส่วนหนึ่งของการผลักดัน

เริ่มจากการให้นักเตะตนเองได้ไปเล่น แลกเปลี่ยนกับสัญญามรายอมเสียเปรียบ หรือ เงื่อนไขบางอย่างที่ขอให้นักเตะพวกเขาได้มีสักคนที่เป็นใบเบิกทาง ในการพัฒนาทั้งนักเตะ และ เพื่อชาติของพวกเขา ไม่ว่าจะเป็น ฮิเดโตชิ นากกาตะ ของญี่ปุ่น หรือ ซอน เฮือน มิน ของเกาหลีใต้ในปัจจุบัน โดยจุดเริ่มต้นอาจจะมาจากการตลาด แต่ พอเวลาผ่านไป

พิสูจน์ให้เห็นถึงคุณภาพ โอกาสของนักเตะรุ่นใหม่ที่จะไปก็มากขึ้น การยอมรับก็มากขึ้น สัดส่วนของการตลาดก็เริ่มน้อยลง จนวันหนึ่ง มีความต้องการมาจาก คุณภาพนักเตะจริงๆ มากกว่าผลประโยชน์ เชิงธุรกิจ ในที่สุด แต่ทุกอย่างต้องใช้ความมุ่งมั่น ต่อเนื่อง และ ระยะเวลาที่พอสมควร 

เมื่อไรไทยไปบอลโลก

เมื่อไรไทยไปบอลโลก เมื่อนั้นต้องมีความต่อเนื่อง และ ความเป็นหนึ่งเดียวของแนวทางตั้งแต่ระดับ สโมสรสู่ระดับชาติ

สิ่งหนึ่งเลยที่สำคัญมากที่ทำให้ทีมชาติไทย พัฒนาไปข้างหน้า ช้า หรือรวมถึงระดับ สโมสร ก็ตามแต่ทำให้เส้นทางบอลโลกของเรา วนไปวนมา ไม่ประสพความสำเร็จเสียที คือ ไม่มีความต่อเนื่องที่มากพอ และ ไม่มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเท่าไรนักทั้งระดับ สโมสร และ ระดับชาติไม่ว่าจะทั้งเรื่องนโยบายแนวทางผลประโยชน์อาจเพราะฟุตบอลไทยเกิดมาจากภาครัฐ

หรือ รัฐวิสาหกิจเสียมากในตอนเริ่มต้นแต่มันมีตัวแปรในเรื่องกลุ่มนักการเมืองเข้าไปร่วมอีกมากเป็นส่วนที่ทำให้การพัฒนาวงการฟุตบอลบ้านเราไม่ต่างจากวงการการเมืองทั่วไป คือ ผลประโยชน์ และ เปลี่ยนขั้วอำนาจหาทางชิงโอกาส และ หักล้างกันมากกว่าเอาเวลามาใส่ใจ เรื่องการตลาด การลงทุน ผลประกอบการ ที่จะสะท้อนถึงความจริงมากกว่าว่ามันทำให้คงอยู่และต่อยอดได้จริงหรือไม่

สังเกตุได้ง่ายจากการที่ แค่ ศูนย์ฝึกของเรา หรือกระทั่งแนวทางที่เรียกกันว่า Thailand way อะไรก็ตามแต่ที่มี  การวางแผนระยะยาวมักจะขาดความต่อเนื่องในที่สุด ไม่ว่าจะเป้นเรื่อง ทุนของการสนับสนุนหมด มีการเปลี่ยนขั้วอำนาจ มีการขัดกันภายใน ทำให้สานต่อกันอย่างยากลำบากโดยสรุปแล้ว จริงๆ บอลโลกมันก็ไม่ได้ไกลมาก ถ้าเรามองไปที่โมเดล อย่าง ญี่ปุ่น เกาหลี แต่เราไม่มีความต่อเนื่องมากพอ

อาจจะเพราะผู้ที่เข้ามาบริหาร มักจะไม่ใช่คนที่มีความรู้ หรือ หลงรักในฟุตบอลมากพอ รวมถึง การใช้เงินทุนอย่างถูกที่ เหมาะสม ถามว่าปัจจุบัน เรากำลังเดินไปตรงนั้นไหม สุดท้าย โลกสมัยใหม่ กระแสนิยม โซเชี่ยล ได้บีบให้แนวทางของกลุ่มอำนาจกลุ่มหนึ่ง ต้องหันกลับมามองภาพรวมเพราะเอกชนเข้ามามีบทบาทมากขึ้น

ถ้าต้องบอกกันตามจริง ก็คือ วันไหนภาคเอกชนเข้ามาดำเนินการ100% และ ไม่มีการขัดขาข+องภาคอะไรก็ตาม ให้มันดำเนินต่อในแง่ ธุรกิจ และ ความเป็นจริง อย่างต่อเนื่อง เมื่อนั้นละครับ บอลโลกอาจจะ มาเคาะประตูหน้าบ้านเรา มองการเมืองไทยแล้วหันกลับมามองการเมือง ฟุตบอล บางที่อยากโทรไปถาม บอลโลก ว่า นั่งรถลงผิดป้ายหรือเปล่า มาไม่ถึงสักทีบางทีก็อยากขอความกรุณาจากผู้ใหญ่บ้านเราว่าหากมันยังลื่นไหลก็ปล่อยไปบ้างเถอะ

ความต่อเนื่องจะได้เกิดความบรรเจิดจะได้ยาวนานคนไทยจะได้เลิกสงสัยและถามกันเสียทีว่า”เมื่อไรไทยไปบอลโลก”จะได้นอนหลับกันทั่วประเทศไทย ความต่อเนื่อง ความเข้าใจ ความสามัคคี การลงทุน เป้าหมาย  ทุกอย่างคือองค์ประกอบกันและกันเชื่อมโยงกันเป็นเรื่องเดียวกัน อยู๋ที่ว่าจริงๆแล้วคนที่เข้าใจเลือกที่จะใส่ใจเรื่องไหน และ ลงมือทำมันอย่่างจริงจังแค่ไหน

เชื่อเถอะครับคนบริหารเขาเก่งมากพอทั้งความรู้ความสามาถ โดยส่วนตัวผมคิดว่าทีมชาติไทยไม่ได้มีคู่ต่อสู้ที่น่ากลัวจากชาติอื่น แต่การต้องรบกันเองทั้งด้านความคิด ความขัดแย้งในแต่ละเรื่องของชาติเรา มันทำให้พวกเราเดินช้ากันเอง บอลโลกจริงๆอยู๋ไกลหรือใกล้ ทุกท่านก็ลองพิจารณาดูอีกทีด้วยตัวเองนะครับ ว่า เพราะใคร หรือ เพราะอะไร

 

“เด็กเนิร์ดสีส้ม”